วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552

นิยามความรัก จาก ศาลฏีกา

จำกันได้มั๊ยกับนายเสริม สาครราษฎร์ที่เป็นหมอฆ่าแฟนตาย
ในคดีที่นายเสริมถูกตัดสิน นายเสริมขอลดโทษโดยอ้างเหตุว่า
ตนฆ่าแฟนเพราะความรักที่ตนมี จนไม่อาจหักห้ามใจให้แฟนไปมีคนใหม่ได้ จึงขอความปราณีจากศาลให้เห็นแก่ความรักของตน


ศาลฎีกาได้ให้เหตุผลไว้อย่างงดงามถึงความรักที่นายเสริมอ้างว่ามีต่อแฟนของตน

ดังฏีกาข้างล่างนี้

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คดีแดงที่ 6083/2546
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
นางสุดา ปรัชญาภัทร โจทก์ร่วม
นายเสริม สาครราษฎร์ จำเลย

ที่ โจทก์ร่วมฎีกาว่า จำเลยควรได้รับโทษประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองไม่ควรลดโทษให้จำเลยเพราะคดีไม่มีเหตุบรรเทาโทษนั้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น
จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยถูกผู้ตายข่มเหงจิตใจอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เพราะจำเลยกับผู้ตายมีความสัมพันธ์ฉันคนรัก
แต่ผู้ตายต้องการเลิกความสัมพันธ์กับจำเลยไปมีรักกับผู้ชายคนใหม่
จำเลยจึงบันดาลโทสะฆ่าผู้ตายนั้น

เห็นว่า
ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ ความรักที่แท้จริงคือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรักความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข
การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิดและการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง
เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความคิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง

ดังนี้
แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
กรณีไม่มีเหตุจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น