วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Social Network ในปัจจุบันกับการอยู่ร่วมในสังคม

ณ เวลานี้ ถ้าจะเอ่ยถึง Social Networking คงไม่มีบุคคลที่ทำงานด้าน IT คนไหนที่ไม่รู้จัก เนื่องจากตัว Model ของเว็บไซต์ประเภท Social Network ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีพลังที่เรียกได้ว่า สมาชิกสามารถสร้าง ร่วมกันสร้าง ร่วมกันเผยแพร่ และเติบโตจนถึงจุดที่เรียกได้ว่า เป็นกลุ่ม community ที่สามารถต่อยอดและเป็นผลผลิตให้เกิดกิจกรรมอื่นๆ ในอนาคตได้ไม่ยากเย็นนัก แต่ในแง่ของเว็บไซต์ Social Networking ชั้นแนวหน้าของโลกในปัจจุบันนั้น จัดอยู่ในประเภท Web 2.0 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า Web 2.0 นั้น มีคำนิยามสั้นๆ ว่า “เป็นเว็บที่ เปิดโอกาสให้ user สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม สร้างเนื้อหา สร้าง content ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ร่วมทั้งสามารถ join group ต่างๆ ในคอมมูนิตี้นั้นๆ ได้อย่างไม่ยากเย็น” ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้ ผู้ใช้มีหลายระดับ หลายวุฒิปัญญา ร้อยพ่อพันแม่ มาอยู่ร่วมกัน จึงไม่แปลกที่ จะมี ผลผลิตที่ตกผลึกออกมาอยู่ในรูปแบบกิจกรรม หรือความสนใจในหมวดหมู่เชิงไร้สาระ หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า “กลุ่มที่ใช้ Social Networking ในทางที่ผิด” ซึ่งเรียกว่าเป็นด้านมืดของ Social Networking ซึ่งทุกๆ ท่านคงจะทราบกันดี ผมขอไม่เอ่ยชื่อ เว็บเหล่านั้น เพียงแต่สิ่งที่ผมอยากจะพูด ณ วินาทีนี้คือ ระบบกลั่นกลอง และภาพสะท้อนให้เห็นถึงความระดับของความรับผิดชอบของตัวเว็บไซต์เอง รวมไปถึงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในเชิงการประชาสัมพันธ์หรือ Policy แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ผมยังมีความเชื่อว่าคุณประโยชน์จาก Social Network นั้นมีมากกว่าโทษแน่นอน และยังคงเป็นอยู่แบบนี้เรื่อยๆ หากแต่ว่าผู้ใช้เอง ยังต้องยกระดับการใช้งาน และร่วมกันส่งเสริม ชี้นำเยาวชนให้เริ่มรู้จักจากด้านสว่าง ผมเชื่อว่าผู้ใหญ่ และผู้ที่กำลังจะเป็นผู้ใหญ่ ในปัจจุบันสามารถส่งเสริมจุดนี้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบัน มี Social Network หลายๆ ที่ ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ และใช้งานเป็นการผ่อนคลายหรือจะใช้งานเป็นแหล่งพบปะ ติดต่อสังสรรค์ หรือจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กันภายในกลุ่มนั้นๆ ปัจจุบันมีหลายเว็บมากมาย ที่ผมจะแนะนำให้พี่ๆ น้องๆ ได้รู้จักกัน Social Network หลักๆ ที่ผมจะนำเสนอมีดังต่อไปนี้ครับ

1. Last.fm ( http://www.last.fm )
ตัวนี้เป็น Community ประเภทบันเทิงครับ หลักๆ คือ สามารถ Link กันใน group หรือ กลุ่มผู้ฟังเพลงที่สนใจแนวเพลงเดียวกัน หรือใครสนใจศิลปินใดอยู่ ก็สามารถ search และทำการ contact กันต่อไป

2. Facebook ( http://www.facebook.com )
เป็น Social Network ที่น่าสนใจไม่แพ้ ตัวแรกที่ผมได้แนะนำไป เพียงแต่ว่าอาจจะความหลากหลายด้านเชื้อชาติ หลากหลายความสนใจ และโดยมากจะเป็นกลุ่มคนอยู่ในวัยเรียนระดับอุดมศึกษาขึ้นไป ที่เข้ามาใช้งาน Facebook แห่งนี้ ที่สำคัญ สามารถสร้าง group และ application เพื่อใช้งานกันภายใน หรือแจกจ่ายให้สมาชิกท่านอื่นได้ร่วมทดสอบได้อีกด้วย

3. SlideShare ( http://www.slideshare.net )
ชื่อเว็บก็บ่งบอก และสื่อถึงตัวมันเองเลยครับ จ้าวนี้เป็นแหล่งแบ่งปันสารสนเทศประเภทงานนำเสนอ ไม่ว่าจะเชิงวิชาการ หรือ content ที่เป็น slide อื่นๆ ก็ยังมีอีกเช่นกัน สามารถลิงก์ไปมาระหว่าง user ด้วยกัน รวมถึง ระบบ group ก็มีให้ใช้เหมือน Social Network อื่นๆ ครับ

4. Flickr ( http://www.flickr.com )
ผมไม่มั่นใจว่าเว็บนี้จะจัดเป็น Social Network ดีหรือไม่ แต่ในความรู้สึกผม มันบอกว่าใช่ เป็นเว็บไซต์ในเครือของ yahoo.com ซึ่งเดิมทีนั้น เป็นเว็บไซต์คลังเก็บภาพ ขนาดใหญ่ สามารถแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน รวมถึงคุณสมบัติพื้นฐาน เช่นการแปะ tag ชื่อภาพ คำบรรยาย อื่นๆ อีกมากมาย มีคุณสมบัติของ Social Network ในเบื้องต้นครบถ้วน เรียกได้ว่า สนใจเรื่องเดียวกัน ก็สามารถ contact หรือ search หาภาพที่เกี่ยวข้องได้โดยง่าย เช่น อาจจะค้นหา ผู้ที่ไปร่วมงานหรือ Event เดียวกัน ก็มา ค้นหาจาก flickr ที่นี่เอง ( ผมชอบมากๆ )

5. LinkedIn ( http://www.linkedin.com )
เป็น Social Network ประเภทกลุ่มคนทำงาน หรือกลุ่มงานนั่นเอง โดยส่วนตัวผมได้ทดลองใช้ รู้สึกว่าใช้งานยากไปนิดนึง แต่ในเบื้องต้นก็มีเพื่อนๆ คนรู้จักหลายๆ คนใช้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการติดต่อกับเพื่อนร่วมงานที่เคยทำงานที่ เดียวกัน หรือกลุ่มคนที่สนใจประเภท งานที่เหมือนๆ กัน สำหรับคนทำงานด้าน IT นับว่าไม่เลวเลยทีเดียว

6. Hi5 ( http://www.hi5.com )
จากกระแสที่ไม่ค่อยสู้ดีนักของ Hi5 เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้นำไปใช้งานในเชิงลบเสียส่วนใหญ่ คนจึงกล่าวถึง Hi5 ในเชิงลบเสียกึ่งหนึ่ง จึงทำให้ดูหม่นหมอนไป แต่ในเชิงจำนวนของกลุ่มผู้ใช้แล้ว ไม่แพ้ Social Network อื่นๆ เลยทีเดียวครับ และ Hi5 ก็พยายามที่จะพัฒนาคุณสมบัติ เพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ เพื่อตอบสนองผู้ใช้อยู่เรื่อยๆ อีกทั้งกลุ่มอายุผู้ที่ใช้งาน Hi5 นั้นอยู่ในช่วง วัยทีน จะเยอะมาก

7. Yahoo Upcoming ( http://upcoming.yahoo.com )
สำหรับ Yahoo เอง ก็มีอีกบริการหนึ่ง เป็น Sub Service ที่ชื่อว่า Upcoming ลักษณะที่ผมดูๆ แล้วจะ เน้นเรื่อง Event หรือความสนใจเป็นหลัก โดยรวมแล้วผมมองว่าคนไทยใช้กันน้อยมาก แต่ทางฝั่งยุโรป และจีน ตลาดของ Yahoo จ้าวนี้ เขาไปได้สวยมาก ซึ่งผมเองยอมรับว่า ไม่ค่อยได้ติดตามเท่าไหร่ แค่ไปสมัคร account เพื่อทดลองเท่านั้น

8. Gotoknow ( http://www.gotoknow.org )
Gotoknow เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเอง โดยได้ริเริ่มโดยกลุ่มนักพัฒนาในระดับอาจารย์ของสถาบันมหาวิทยาลัยชื่อดัง ของรัฐฯ และได้พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและส่งเสริม จาก “สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม” หรือ เรียกสั้นๆ ว่า”สคส. ซึ่งกลุ่มผู้ใช้หลักๆ ที่ผมดูแล้วจะเป็นกลุ่มวิชาชีพอาจารย์ ครู นักวิชาการด้านต่างๆ เนื่องจากรูปแบบที่ใช้งานง่าย มีความคล่องตัว รวมถึงคุณสมบัติที่ครบถ้วน โดยรูปแบบ จะออกแนว Blogging ซึ่งก็ไม่รู้ว่าอะไร ที่ทำให้ผมคิดว่า Gotoknow เป็น Social Network เพียงจุดเดียวที่ผมสังเกตเหตุจาก Gotoknow คือสาระเชิงวิชาการ ที่ถูก Generate จากกลุ่มผู้ใช้ในระดับปัญญาชน จากสาขาต่างๆ มากมาย ทำให้ผมชอบที่จะแวะเวียนไปหาบทความดีๆ มาอ่านอยู่เรื่อยๆ โดยสามารถค้นหา Tag ที่สนใจ และถึงกลุ่มบทความที่ต้องการได้โดย ตรงภายในเวลาอันสั้น รวมถึงการแชร์ความคิดเห็นต่างๆ จากจุดนี้เอง เป็นข้อสังเกตได้ว่า Gotoknow มีการแสดงความคิดเห็นจากปัญญาชนซึ่งโดยมากจะตกผลึกและกลั่นกรองโดยดีแล้ว ก่อนที่จะโพสต์หรือเผยแพร่ ทำให้ผมมองว่า “จุดประสงค์หลัก” และแนวทางของเว็บไซต์ จะเป็นตัวชี้และกำหนด รวมถึงกลั่นกรองระดับคุณภาพของสังคม WEB 2.0 นั้นๆ ไปโดยปริยาย โดยไม่ต้องเหนื่อยยากลำบากไปให้ความสำคัญกับการร่าง Policy และหามาตรฐาน หรือมาตรการมาป้องกันภัยสังคมอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังสามารถเอาเวลาไปพัฒนาตัวเว็บได้อีกเยอะ เลยทำให้ Gotoknow เป็นอีกหนึ่ง Social Network ที่มี Model ระดับคุณภาพคับแก้วเชิงโครงสร้างและหลักการผมให้คะแนน 9 เต็ม 10 (ในสายตาของผม) สามารถเอาศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบพื้นฐานในการออกแบบโครงสร้างและให้ผลผลิตดีๆ แก่สังคมอินเตอร์เน็ตของไทยได้อีกมากมาย

จากตัวอย่าง Social Network ที่ผมยกตัวอย่างมาเพียง 8 เว็บนั้น อาจจะขาดบางเว็บที่บางท่านอาจจะคิดว่าผมลืมได้อย่างไร จริงๆ แล้วต้องขออภัยที่ผมเพียงแต่จะนำเสนอเว็บที่ผมคุ้นเคย และได้พยายามเข้าถึงเท่านั้น หากแต่จะมีเว็บไซต์อื่นๆ อีกมากมายที่ผมไม่ได้พูดถึงก็สามารถแนะนำกันได้ครับ

ที่มา : http://jack.in.th/113
Credit : jack

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น