วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ของชอบเค้าล่ะ ตอน เกมส์ใหม่ ไฉไลด้วยดาวเทียม

ไปอ่าน Blognone มาเจอข่าวเกมส์ขับเครื่องบินรบใช้ฉากเป็นภาพที่ถ่ายมาจากดาวเทียม สนใจแบบใจเต้นตุ๊บตั๊บเลย ว่ามันจะเป็นยังไง ทนไม่ไหว ไปดูดข้อมูลมาซะ หุหุ

GeoEye ใช้งบไปตั้ง 100 ล้านดอลล่า เพื่อการส่งดาวเทียมเข้าไปบนอวกาศ เพื่อให้เราสามารถมองเห็นภาพของภาคพื้นดินได้สมจริง ในเกมส์ใหม่ชื่อง Tom Clancy air combat. โอ๊ะโอ นี่แปลมาแค่บรรทัดเดียว ผมก็อึ้งทึ่งเสียวไปเลย ลงทุนจริงนะเนี่ย

มาดูภาพกันซักเล็กน้อย


ภาพแบบนี้ คอเกมส์เครื่องบินใฝ่ฝันหาแน่นอนครับ จากตัวเว็บหลักบอกว่า กำหนดการที่จะคลอดเกมส์นี้ เป็นช่วงเดือนมีนาคม สำหรับทั้ง XBox 360, PS3, PC ตามระเบียบครับ

ที่มา : คลิกเลยลูกพี่

Review ThinkCamp มาแล้วครับ สดๆร้อนๆ

ตอนนี้เวลา 19.16 น. เพิ่งกลับมาจากไปร่วมงาน ThinkCamp ที่จุฬามาครับ


"THai INtegrated Knowledge camp (หรือ THINK camp)

มา Review แบบทันควันตามที่ได้เขียนบล็อคไว้ เรื่อง ก่อนไป ThinkCamp ตอนนี้ไปและกลับมาแล้ว ก็มาดูกันครับ มีอะไรให้ทำบ้าง และได้อะไรกลับมาบ้าง

นัดเจอกันที่หน้า ม. ขึ้นรถไปจุฬากันตอน 10.00 พอดีเป๊ะ คิดว่าจะ late ซะแล้ว ไปถึงตอน 10.20 คนยังน้อยอยู่เลยครับ หุหุ ไปถึงก็ลงทะเบียนรับนิตยสารกะใบประเมิน (เค้าบอกเอาไว้แลกแก้ว) แล้วก็แย่ยอย ป้ายห้อยคอก็สวยใช้ได้เลยล่ะครับ

สำหรับผมตามมาติดๆด้วยการลงชื่อสำหรับคนที่มีเรื่องจะพูดบรรยาย ซึ่งครั้งนี้ผมก็ตัดสินใจอยู่นาน แต่สุดท้ายก็ทำ slide presentation ส่งไปเมื่อวันก่อน หัวข้อก็ประมาณ "สะกิดความ สะกิดเว็บไทย ต้องสะกิดใจคนใช้เว็บ" แล้วก็ตามระเบียบเช่นเคย เอาหัวข้อที่เราจะพูดไปติดบอร์ด ให้คนร่วมงานโหวตว่าอยากฟังหัวข้อไหนบ้าง ซึ่งในใจไม่คิดอะไร เพราะหัวข้อดีๆมีอีกเยอะแยะ ระหว่างนั้นนั่งคุยกับเพื่อนๆ ที่รู้จักและเคยเห็นหน้าตากันมาตัั้งแต่ mashcamp ซักพักเดินไปโหวต เจอจำนวนหัวข้อตัวเองที่เค้ามาโหวตแล้วตกใจ ตามแน่เลย ได้พูด section แรกๆ

เข้าพิธีเปิด พี่บอยพูดเปิดได้แบบว่า รู้เลยว่าเวลา late เลยพูดแบบรวบรัดมากมาย จึงทำให้เราได้เข้ารับฟังกันเร็วหัวข้อขึ้น ฮาๆๆๆ ออกมาจากห้องก่อนฟังเรื่องแรก เดินไปเจอว่าตัวเองต้องบรรยายเป็นคนที่สองเลยค่ายเลย ตื่นเต้นแบบบอกไม่ถูก แล้วก็ประม่ามาก เพราะเรายยังเด็กอยู่นะ ฮาๆๆๆ

หัวข้อที่ผมพูด ก็ตามนี้ครับ No sensor

พอถึงคิวผม คนที่สอง Room2 ผมเข้าไปเตรียม slide กะพี่ staff แล้วปรากฏว่าไมค์ดันไม่มีเสียง ในใจรู้สึกดีครับ เพราะจะได้บอกตกล้องว่าไม่ต้องอัด แต่ก็อัดอยู่ดีนะ ผมไม้ได้เตรียมตัวพูดอะไรไปเลยครับ แต่ความจริงคือมันคิดมาตั้งแต่ตอนทำ slide แล้ว พอพูดไปๆ มันเริ่มอยู่ตัว เริ่มหายประม่า เพราะคนที่นั่งฟงัแต่คนค่อนข้างมี eyes contact กลับมาอย่างเหมือนว่าเค้าช่วยลดความประม่าของเรา จากนั้นผมก็เริ่งร่ายมนต์ตราแบบแถๆไปให้ตรงเวลา และ slide ที่เค้าบังคับ 10 slides ๆ ละ 1 นาที แต่เพื่อนผมที่นั่งฟัง บอกว่าผมลงตรงจุดและจบพอดีเกือยทุก slide ก็รอดไปนะครับ

เรื่องที่ผมพูดก็ประมาณนี้ ของเดิมที่เขียนไว้ก่อนไปแหละครับ

หลังจากพูดจบก็มีคำถาม และเกิดการเสวนาขึ้นเยอะเอาการ ซึ่งผมคิดว่าคงจะมาไล่เขียนอีกรอบนึงนะครับ มันเป็นความคิดและมุมมองที่เป็นจริงๆอยู่ทุกวันนี้จากคนเก่งๆและเว็บ มาสเตอร์เลยทีเดียว ช่วงเช้ามี 3 ห้อง ทั้งหมด 9 หัวข้อ ผมไปฟัง 2 หัวข้อและพูดเองไป 1 ขอบอกว่าติดลมบนเลยล่ะครับ จนถึงเที่ยงก็ ตัวใครตัวมัน ลงมากินข้าวด้านล่าง เป็นเหมือนโรงอาหาร ซึ่งสาวๆบัญชีจุฬาเพิ่งจะสอบเสร็จกัน มากินข้าว ก็กินไปมองไปกันตามระเบียบ โต๊ะที่ผมนั่งโชคดี ได้นั่งกับเพื่อนๆแล้วยังมีพี่โม จาก มธ มานั่งคุยกัน ตามต่อด้วยพี่ annop เว็บมาสเตอร์ thaithinkpad.com , thaihi5.com ด้วย พี่เค้ามีมุมมองและแนวคิดที่สอนผมและเพื่อนๆกลางโรงอาหารกันเลยทีเดียว ขอบอกว่าช่วงนี้ในใจผม คิดว่า สุดยอดมาก ที่ตัดสินใจมาวันนี้ พอกินเสร็จ เราก็นั่งติดลมบนกันต่อที่โต๊ะกินข้าวนั่นแหละครับ คุยเรื่องเว็บกัน วิจารย์ และพูดถึงความเป็นจริงในทุุกวันนี้ของเว็บไทย ก็ได้อะไรเยอะแยะมากกว่าเดิมอีก คุ้มมมม!!! (พี่ annop เอาสติ๊กเกอร์ thaithinkpad มาให้ผมกับเพื่อนๆกันฟรีๆ ขอบคุณมากมายครับพี่ี)

เอาไว้ก่อน เดี๋ยวมาอัพเพิ่มดีกว่า หิวครับ ตอนกลางวัน กินไปมองสาวไป มันอิ่มเอม ฮาๆๆ

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Traffy - รายงานสภาพการจราจรในกรุงเทพมหานคร

NECTEC ร่วมกับกรุงเทพมหานคร พัฒนาเว็บไซต์รายงานสภาพการจราจรในกรุงเทพด้วย Google Maps ภายใต้ชื่อ Traffy ซึ่งแสดงให้เห็นเส้นทางที่การจราจรคล่องตัวหรือติดขัดด้วยสีเขียว สีเหลือง และสีแดง

หน้าจอหลักของ Traffy

Traffy มีไอคอนป้ายจราจรอัจฉริยะติดอยู่ตามจุดต่างๆ ของถนน ผู้ใช้สามารถคลิกดูรายละเอียดของป้ายได้ว่าเส้นทางไหนที่รถติดอยู่บ้าง เหมือนดูจากป้่ายจริงที่ติดอยู่บนท้องถนน

นอกจากการรายงานสภาพการจราจรแล้ว Traffy ยังสามารถแนะนำเส้นทางการเดินทางที่เหมาะสมให้ได้ด้วย ผู้ใช้เพียงกำหนดจุดต้นทางและปลายทาง Traffy ก็จะค้นหาเส้นทางที่สามารถหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัดได้ดีที่สุดให้

ถนนบางจุดในกรุงเทพมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อตรวจสอบความคล่องตัว ของสภาพจราจร Traffy ก็มีไอคอนรูปกล้องให้ผู้ใช้คลิกดูภาพจริงจากถนนบริเวณนั้นได้ด้วย

ก่อนออกจากบ้านอย่าลืมวางแผนการเดินทางด้วย traffy.nectec.or.th/wtraffy

ThinkPad ผ่านการทดสอบความอึดทางการทหาร

Lenovo ส่งโน้ตบุ๊กตระกูล ThinkPad ไปทดสอบความอึด (Tough Test) สำหรับการใช้งานในกองทัพ และงานภาคสนามต่างๆ การทดสอบต่างๆ มีดังนี้

  • ทำงานในสภาพความกดอากาศต่ำ (ความสูง 15,000 ฟุต)
  • ความชื้นสูง (95%)
  • สั่นสะเทือน ทดสอบแรงกระแทก
  • อุณหภูมิสูง-ต่ำ (ระหว่าง -15 ถึง 60 องศาเซลเซียส) และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลัน
  • เป่าฝุ่นเข้าไประหว่างที่เครื่องทำงานอยู่

แน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายของ Lenovo คือตำรวจ ทหาร และนักวิจัยภาคสนามที่ต้องออกสำรวจพื้นที่อยู่เสมอ ทั้ง 8 รุ่นนี้ได้แก่ X200, X301, X200s, X200 Tablet, T400, T500, R400 และ SL300

โอ๊ะโอ ผมก็ใช้อยู่ครับ รับรองความอึดและถึก ความเสถรียร + Sofware support ใช้ได้เลยครับ

ThinkPafd เทพครับ อาวุธสงครามสีดำ ฮาๆๆๆ ไ่ม่สวยแต่อร่อยนะฮะ

ที่มา - Engadget

Credit - http://blognone.com/

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มอง ตอน กูgle search ภาค แง่ +


Google.com ใครๆก็รู้จัก และนับว่าเป็นเว็บที่จะครองโลกอยู่แล้วนะครับผมว่า เหมือนเดิมครับ จาก blog เก่าของผมเขียนเรื่อง google ไว้เยอะอีกเหมือนกัน ย้ายมาใหม่ ก็เลยมาเขียนเจิมเป็นประเพณีให้พี่ กูgle ของเราซะหน่อย หุหุ

ไอ้เจ้าเว็บหน้าตาธรรมดาๆ กับ logo ที่ชอบเปลี่ยนตามช่วงเทศกาลอยู่เรื่อย มีช่องใส่ข้อความช่องเดียวกับปุ่มไม่กี่ปุ่ม รวมเมนูไปๆมาๆ ก็ไม่เยอะเอาซะเลย ทำไมมันถึงยิ่งใหญ่และมีจำนวนการใช้ของคนที่เล่นอินเตอร์เน็ตเยอะแยะได้ถึงเพียงนี้กัน แล้วเบื้องหลังของมันจะยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างขนาดไหนกัน คำถามเหล่านี้ก็ลองใช้ google หาดูนะครับ 555 ขนาดเรื่องที่จะพูดถึง google ผมยังอ้างว่า ต้องใช้ google หาเลยนะครับ แสดงว่าเว็บนี้มันมีอิทธิพลมากเลย ถูกมั้ย?

ในอินเทอร์เน็ตมี Search Engine อยู่ 2 ประเภทหลักๆด้วยกัน ประเภทแรกเราจะเรียกว่าเป็น Search Engine ที่สืบค้นด้วยอินเด็กซ์หัวเรื่อง (searchable subject index) ซึ่งจะทำการสืบค้นเฉพาะชื่อหรือคำอธิบายของเว็บไซต์เท่านั้น แต่จะไม่ทำการสืบค้นในระดับ Web Page ตัวอย่างของ Search Engine ประเภทนี้ก็เช่น Yahoo! เป็นต้น อีกประเภทหนึ่งได้แก่ Search Engine ที่ทำการสืบค้นเนื้อหาทุกอย่างด้วยวิธีแบบ Full Text Search ซึ่งจะใช้การสืบค้นด้วยระบบการประมวลผลแบบ “สไปเดอร์” (spider) เพื่อที่จะจัดทำอินเด็กซ์ให้กับ Web Page ซึ่งมีเป็นล้านๆหน้า หรืออาจจะถึงหลายพันล้านหน้า ทำให้เราสามารถสืบค้นถึงในระดับ Web Page ด้วยการระบุคำที่ต้องการค้นหา (query word) ที่ต้องการ และได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงมากกว่าการสืบค้นแบบแรก ซึ่ง Google จัดอยู่ใน Search Engine ประเภทหลังนี้

เวลาเราสืบค้นด้วย keyword มากกว่าหนึ่งคำในแต่ละครั้งนั้น Google จะมีวิธีในการจัดการกับ keyword นั้นๆ ว่าจะสืบค้น keyword ดังกล่าวไปพร้อมๆกัน หรือจะแยกสืบค้น keyword แต่ละคำออกจากกันต่างหาก วิธีการก็คือ Google จะดูที่โอเปอเรเตอร์ตามค่าเริ่มต้น (default operator) ที่ถูกกำหนดเอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจเป็นโอเปอเรเตอร์ AND (สืบค้น keyword ดังกล่าวพร้อมๆกัน) หรือโอเปอเรเตอร์ OR (สืบค้นด้วย keyword ใด keyword หนึ่งก่อน) ก็ได้ และหากว่าโอเปอเรเตอร์ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นของ Google เป็น AND (หมายถึงคุณไม่จำเป็นต้องใส่คำว่า AND แทรกลงไปตรงกลางระหว่าง keyword เหล่านี้) แล้วล่ะก็ คุณก็ยังมีวิธีที่จะสั่งให้ทำการสืบค้น keyword แต่ละคำแยกกันด้วยโอเปอเรเตอร์ OR ได้ เพียงแต่ Google จะต้องรู้ก่อนว่าคุณต้องการให้มันทำอะไรกันแน่ ด้วยการดูจากโอเปอเรเตอร์ที่คุณระบุลงไปนั่นเอง

สิ่งที่ google กำลังดำเนินและเป็นอยู่ในปัจจุบัน

วิธี การที่คนส่วนใหญ่ใช้งาน Search Engine ก็คือการพิมพ์ keyword สองสามคำลงไปและรอดูผลลัพธ์ (search result) ว่าจะได้อะไรกลับคืนมาบ้าง วิธีการเช่นนี้อาจใช้ได้ผลดีสำหรับ Domain บางประเภท ทว่าเมื่ออินเทอร์เน็ตขยายตัวใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ วิธีนี้ก็จะใช้ได้ผลน้อยลงตามลำดับเช่นกัน
ดังนั้น Google จึงพัฒนาส่วนเพิ่มเติมที่เรียกว่า “ซินแท็กซ์พิเศษ” (Special Syntax) มาให้เราใช้ด้วย และในบทนี้ก็จะพูดถึงซินแท็กซ์พิเศษเหล่านั้นโดยละเอียดเลยทีเดียว ซึ่งเราอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้

การสืบค้นภายใน Web Page (within the page)

Google มีซินแท็กซ์พิเศษที่จะทำให้คุณกำหนดการสืบ

ค้นของคุณในระดับ Web Page เช่นการระบุชื่อ หรือ URL (Uniform Resource Locator) ของ Web Page ที่ต้องการได้

ประเภทของ Web Page (kinds of page)

Google ยอมให้คุณสามารถกำหนดการสืบค้นตามประเภทของเว็บไซต์ (search by domain category) ได้ด้วย เช่น เว็บไซต์ที่มี Domain เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา (.edu) หรือค้นหา Web Page ที่ได้มีการจัดทำอินเด็กซ์ (indexing) ในช่วงวันที่ต้องการ (specified date range) เป็นต้น

รูปแบบของเนื้อหา (kinds of content)

เมื่อ สืบค้นด้วย Google คุณสามารถที่จะค้นหาไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น เอกสารที่เป็นไมโครซอฟต์เวิร์ด สเปรดชีทของเอ็กเซล หรือไฟล์ PDF ก็ตามที นอกจากนี้คุณยังจะสามารถค้นหา Web Page ที่เขียนด้วยภาษา XML, SHTML
หรือกระทั่ง RSS ได้ด้วย

รูปแบบเฉพาะ (special collections)

Google มีคุณสมบัติในการค้นหาให้คุณได้เลือกใช้อยู่มากมายหลายแบบ และบางแบบก็ยังไม่ถูกลบออกไปจากอินเด็กซ์ดังเช่นที่คุณเข้าใจ คุณอาจจะนึกถึง Google Index ในแง่การเป็นอินเด็กซ์ของเรื่องราวใหม่ๆหรือภาพใหม่ๆเท่านั้น ทว่าคุณเคยรู้เกี่ยวกับวิธีสืบค้นข้อมูลเฉพาะ (specific information) สำหรับงานต่างๆในระดับมหาวิทยาลัยบ้างหรือไม่ หรือคุณรู้บ้างไหมว่า คุณสามารถใช้
Google ทำการค้นหาโดยแยกตาม Topic เช่น Topic ต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบปฎิบัติการ BSD ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
หรือ จะเกี่ยวกับลีนุกซ์ หรือแอ๊ปเปิล หรือไมโครซอฟต์ เป็นต้น รวมถึง Topic ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล (U.S Government) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

รูปแบบไวยกรณ์การค้นหาต่างๆเหล่านี้สามารถใช้ร่วมกันได้ด้วย ซึ่งนี่แหละคือความสามารถอันพิเศษของ Google เพราะคุณจะสามารถทำการสืบค้นได้ถึงระดับรูปแบบ Web Page ที่ต้องการ ไปจนถึงระดับเนื้อหาและประเภทของ Web Page เลยทีเดียว

ลองไป search Google ดูวิธีการ search Google ในรูปแบบต่างๆดูได้ที่ Google Search นะครับ

เพียงเท่านี้ที่เป็นส่วนหลักๆที่ google search เป็นอยู่ และเพียงเท่านี้คุณก็สามารถค้นหาและล่วงรู้สิ่งที่คุณต้องการบนโลกอินเตอร์เน็ตที่กว้างใหญ่กว่าโลกที่เราอยู่กันในตอนนี้ได้แล้วล่ะครับ


กระเทาะเปลือกเว็บ ภาค แนะนำเว็บ mashup เจ๋งๆ

บ่นไปเมื่อบทความก่อนเรื่องเว็บ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่โลกเว็บ 2.0 แน่นอน key word ที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และทำอะไรๆได้ตั้งเยอะตั้งแยะในโลก internet และเว็บไซต์ communities
ว่ากันด้วย Mash UP (อันนี้จาก google กูรู)

คำว่า “mashup” หรือ "mash-up" เป็นศัพท์เฉพาะในแวดวงของนักพัฒนา application แบบ client-server ประเภทที่ทำเติมต่อขึ้นเองโดยใช้software tool และ ทรัพยากรที่ทางผู้ให้บริการจัดไว้ให้ เป็นคำใหม่ที่ใช้กันหนาหูในปี 2005 มีที่มาจากวงการเพลงเมื่อนักจัดรายการเพลงเกิดความคิดแหวกแนวโดยทดลองเปิด เพลง 2 เพลงพร้อมๆกัน ทำให้เกิดเสียงเพลงที่ผสมผสานที่แปลก และบางครั้งมีความไพเราะ และเรียกขานผลที่เกิดขึ้นว่า “mashup”

mashup ที่กล่าวถึงกันมากในแวดวงนักพัฒนาแอพลิเคชันที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตมีองค์ ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน ส่วนแรกคือ application program interface (API) และทรัพยากรสนับสนุนจากเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ และส่วนที่ 2 คือโปรแกรมและทรัพยากรของผู้พัฒนาแอพลิเคชันนั้น (ติดตั้งอยู่ที่เว็บไซท์ของผู้พัฒนา) ต้วอย่างกรณีของ Google Maps mashup ก็จะหมายถึงเว็บเพจที่นักพัฒนาเว็บไซท์สร้างขึ้นให้มีส่วนประกอบที่เป็น แผนที่ที่สามารถทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ โดยมีแผนที่ฐานเป็นส่วนที่ Google จัดไว้ให้แล้ว และมีข้อมูลแผนที่ของตนเองซ้อนทับในลักษณะหมุดปัก (ที่สามารถแสดงข้อความซึ่งแฝงอยู่เมื่อผู้ใช้คลิกที่หมุดเหล่านั้น) หรือลักษณะอื่นที่สลับซับซ้อนกว่านั้น

มาแนะนำเว็บฯเด็ดกันเลยครับ มาดูว่าเว็บ mashup มันเป็นยังไงนะ

เรียงตามความชอบส่วนตัว 555


1. http://www.mapjack.com/ หรือแผนที่ของนายแจ๊ค
เอา Google Map API มาประชุกต์ให้เราได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ + เทคนิคการถ่ายภาพอะไรไม่รู้ แต่มันทำให้เรามองได้ 360 เหมือนเดินไปเที่ยวในที่นั่น ตอนนั้นจริงๆเลยล่ะครับ สุดยอด ถูกใจมากมาย
แถมนายแจ็คดันมาชอบเมืองไทย ทำให้เราได้เดินทางทั้งเชียงใหม่ ภูเก็ต ปาย แบบได้บรรยากาศไปอีกแบบนะครับ (กล้ารับประกันว่าคนไทยไท่ค่อยรู้กันเลย)


2. http://labs.ideeinc.com/multicolr/ อันนี้คนชอบหาภาพ หาได้ดั่งใจเลย
เอา Flickr เว็บฝากรูปชื่อดังของโลกฝั่ง yahoo เลยทีเดียว แล้วยังไงน่ะเหรอครับ มันจะไปหาภาพทั้งหมดที่มีคน upload ไว้ใน Flickr ตาม สี ที่เราเลือก ว่าเราอยากได้รูปที่มีสีอะไรอยู่บ้าง โดยเลือกสีได้ตั้งแต่ 1 - 10 สีต่อรูปเลยครับ อธิบายไม่ถูก ต้องลองไปเล่นดูครับ ของเค้าดีจริง

3. ติดตามภาคต่อ (อีกนาน 555) ถ้ารอไม่ไหว ไปที่นี่เลยครับ http://mashupawards.com/

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ยังตามกระแส Hi5 กับการ Hack Hi5 ต่อไป

เขียนและอ้างอิงกระแส Hi5 ในบล็อคเก่าไว้เยอะพอสมควรครับ ตอนนี้ Hi5 ก็ความนิยมในบ้านเรายังสูงอยู่ แต่ก็ถูกลดความร้อนแรงลง ด้วยกระแส Facebook กับ Twitter รวมไปถึงเว็บ Social Network ก็กำลังผลิดอกออกผลกันมาเป็นทิวแถว แต่ยังไงก็ดี จำนวนคนเล่น Hi5 ของไทยก็ยังเยอะติดอันดับต้นๆของโลกนี้ครับ อันนี้ก็คงเป็นเรื่องปกติ

ว่ากันด้วยข่าว ขายบริการ เซ็กต์ทัวร์ และอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ผ่าน Hi5 ไทย แล้วกระทรวง ICT กับกระทรวงวัฒนธรรมก็คิดว่าจะสั่งปิด Hi5 ของไทยไปซะแล้ว ล่าสุดก็ได้ข่าวว่า เป็นแค่การบล็อคและปิด Hi5 ของกลุ่มบุคคลที่ส่อและเสี่ยงที่จะเป็นพวกอย่างที่ว่าเท่านั้นครับ แล้วทำไมผมถึงมาพูดละครับ เพราะว่า คิดไปคิดมา โดยส่วนตัว เหมือน ICT มาส่องและดู Hi5 ที่บางคนปิดไว้และหวงนักหวงหนาได้ไงล่ะครับ เพราะเหมือนเค้ามีอำนาจในการตรวจสอบและดูแล Hi5 พวกเราไม่ให้เข้าข่ายผิด กม. หรือทำให้ประเทศเสียชื่อเสียง ลองเก็บไปคิดดูนะครับ เหมือน ICT มานั่ง Hack Hi5 เราแล้ว Screen กะ Sensor users อารมณ์ประมาณนั้น อันนี้ผมคิดเอาเองนะ (ความจริงแค่อยากบ่น ICT บ้านเรา มีหลายเรื่องแล้ว 555)

ส่วนกระแสการเจาะทะลวงเข้าไปเอาอีเมล หรือเข้าไปดู profile ของคนที่ชอบบล็อคไว้ อันนั้นผมว่า นับวันยิ่งมีคนอยากทำได้ เพราะมันทำง่าย สำหรับคนที่รู้ว่าทำยังไง ใครก็ Hack Hi5 ขโมยและรู้โน่นนี่ของเค้าไปหมด ถ้ารู้วิธีที่ค่อนข้างทำได้ง่ายดาย แต่ โดยส่วนตัว จากที่ผมเคยทำและอยู่ในจุดที่สามารถอะไรแบบนั้นได้ มันไม่มีอะไรเลยครับ เพราะทาง Hi5 เองก็ไม่ได้ให้บริการเก็บความลับสำหรับ user แต่อย่างใด คุณเข้าไปดู profile เค้าแล้ว ก็หมดแค่นั้น ไม่ได้อะไร นอกจากการรู้จักหน้าและดูโน่นนี่ ที่ไม่ได้เป็นสาระแก่นสารอะไร เพราะ Hi5 ก็ทำขึ้นมาชิวๆ สำหรับสร้างกลุ่มเพื่อนและหาเพื่อน ไม่ได้สร้างมาเพื่อปกปิดและเก็บความลับอะไรให้ใครอยู่แล้ว คนที่กำลังอยากจะ Hack หรือ เจาะ เพื่อหวังจะได้ผลประโยชน์ก็หยุดซะเถอะครับ ไม่มีหรอก อย่างมากคุณก็ได้เห็น profile กับอะไรนิดๆหน่อยๆ ที่เค้าเปิดให้เพื่อนเค้าดู แต่ ประเด็น คือ บางคนที่หาข้อมูลเพื่อมา Hack Hi5 ชาวบ้าน แล้วรู้ไม่จริง นั่นแหละ คุณอาจจะกลายเป็นเหยื่อโดน Hack ซะเองนะครับ เพราะเว็บหลอกล่อเอารหัสและข้อมูลส่วนตัวคุณที่มันร้ายแรงกว่าที่คุณคิด มีอยู่ทั่วไปในโลกอินเตอร์เน็ต ระหว่างที่คุณจะไปเจาะคนอื่น แล้วไม่ระวังตัว หรือ ไม่มีความรู้ ทักษะ และความรอบคอบพอ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร อินเตอร์เน็ตมันก็ทำร้ายคุณได้ทั้งนั้นครับ

เอาไว้แค่นี้ก่อน บ่นๆไปงั้นแหละครับ หุหุ

JPC#6 2009 ค่าย Junior Programmer ครั้งที่ 6

ผมนั่งเล่นคิดไปคิดมา เกิดความกลัวขึ้นนิด เลยมาสะกิดตัวเองด้วยการเขียนบล็อคละกันครับ

แบบว่าผ่านค่าย Junior Programmer มาแล้ว 2 ปี ทั้งในฐานะ staff เดินทางที่เหนื่อยๆ และรองประธานในปีล่าสุดที่มันเหนื่อยยิ่งกว่า มาปีนี้ JPC#6 ครั้งที่ 6 แล้วล่ะครับ อยู่ในฐานะที่ต้องควบคุมดูแลทุกอย่างด้วย เลยไม่รู้จะระบายอะไร เขียนบอกกล่าวน้องๆให้รู้กันไว้ดีกว่า เผื่อจะมีใคร search มาเจอบทความนี้ แล้วจะเกิดสนใจ จะได้มาร่วมค่ายฯกันครับ

JPC หรือ Junior Programmer Camp หรือค่ายสานฝันน้อง ม.ปลาย สู่สายอาชีพโปรแกรมเมอร์นี้ ค่ายที่จะทำให้น้องได้เรียนรู้และเข้าใจในการเข้ามาเรียนต่อสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อย่างเรียกว่า สัมผัสของจริงกันเลยทีเดียวนะครับ ค่ายนี้เน้นให้น้องๆ ม.ปลาย ที่มีความสนใจหรืออยากลองมาดูว่าพี่ๆ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) แห่งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ ม.บางมด ว่าเรามีอะไรดีบ้าง เราเรียนกันยังไง และน้องๆจะได้พบการประสบการณ์การเขียนโปรแกรมและพื้นฐานคอมพิวเตอร์เบื้อนต้น (เจาะลึกทางระบบการทำงานเลยล่ะครับ ว่าคอมพิวเตอร์มันคิดได้ยังไง)

กิจกรรมนี้ ทุกปีจะจัดขึ้นประมาณช่วงเดือน ตุลาคม ช่วงปิดเทอมเล็กของน้องๆ ม.ปลาย นั่นเองนะครับ น้องๆที่สนใจเข้าร่วมโครงกการ ต้องเรียนอยู่ชั่น ม.5-6 สายวิทย์ จากทั่วประเทศ โดยจะเปิดรับสมัครและส่งข่าวสารทุกอย่างผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งต้องคอยติดตามกันอีกทีนะครับ ไว้ผมจะมาเขียนประชาสัมพันธ์อีกทีเมื่อใกล้ช่วงเปิดเว็บค่ายฯ ปี 2009 นี้นะครับ

ทุกปีที่ผ่านมา ปัญหาของน้องๆคือ หนูไม่มีพื้นฐานคอมฯ หนูไม่เคยเขียนโปรแกรม ผมไม่เก่งคอมฯ นั่นไม่ใช่ประเด็นในการคัดเลือกนะครับ (มีการคัดเลือกนะครับ เพราะรับไม่น่าจะเกิน 100 คนครับ) การคัดเลือกเราดูที่ความั่นใจ ความกระตือรืนร้น ความสนใจ และ ฯลฯ ที่มันเป็นเรื่องในความคิด มากกว่า คะแนนสงสารหรือความฉลาดหรือความเก่งนะครับ น้องๆแค่สนใจอยากร่วมค่ายฯ และอยากมีสัมผัสชีวิตของโปรแกรมเมอร์น้อยๆอย่างพี่ๆ ก็ลองสมัครมาดูละกันนะครับ อีกปัญหาคือ บางคนติดค่ายฯแล้ว ไม่ยอมมา เพราะบอกว่า หนูไม่มีเพื่อน แต่พอมาค่ายฯ กลับไปต้องไปโม้ว่าชั้นมีเพื่อนที่โน่นที่นี่เต็มเลย ได้เพื่อนใหม่ตั้งเยอะๆ ฉะนั้นมองที่ผลลัพธ์นะครับ อย่าไปกลัว ที่นี่มีเพื่อนใหม่และพี่ๆที่มีแต่สิ่งที่ดีๆและความรู้ ความสนุกสนานจะมอบให้น้องๆนะครับ

ถ้าสนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็คอมเม้นไว้ได้นะครับ แล้วจะมาเขียนเรื่อง JPC อีกที คงได้พบกัน

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เขียนไว้ ก่อนไป THINK Camp

ได้เห็นข่าวในเว็บฯ มีงาน ThinkCamp ได้เห็นชื่อตอนแรกคิดว่าเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายระดมสมองแนวๆต้องมีความคิดแบบสาระๆ ไปๆมาๆ เข้ามาดูในเว็บ ThinkCamp.in.th ก็ถึงบางอ้อ

"THai INtegrated Knowledge camp (หรือ THINK camp) เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยได้รู้จักเว็บของไทยให้มากขึ้น และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น"

ชื่อไทยก็ฟังดูดีครับ ค่ายความคิด สะกิดเว็บไทย ตอนแรกๆเลยก็ตัดสินใจว่าจะไป แต่ดูจากวันที่แล้ว มันอีกสองวันผมก็สอบปลายภาค เลยคิดอยู่หลายวัน แต่สุดท้ายตัดสินใจว่าจะไปครับ

วันที่ 28 กพ 52 นี้แล้ว ที่
ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คิดว่าคนไอที กับพี่ๆเว็บมาสเตอร์ทั้งหลาย แล้วก๋คนเก่งๆคงจะไประดมสมอง เพื่อ

"
เพื่อส่งเสริมให้เว็บไซต์ของคนไทยเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น
• เพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างเว็บมาสเตอร์
• เพื่อยกระดับมาตรฐานเว็บไซต์ไทยให้เทียบเท่าสากล
• เพื่อร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ทั้งในเชิงการตลาดและเทคนิค"

ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่ามันดีมากๆเลยครับ เมื่อไหร่บ้านเราจะมีเว็บฯดีๆ มีคนไทยมาใช้กันเยอะๆ ทำให้คนทำเว็บฯมีกำลังใจพัฒนาเว็บฯกันต่อไป

เท่าที่ผมรู้มา ผมขอเปรียนเทียบเป็นเเหมือนผู้กำกับหนังหลังข่าวแล้วกันนะครับ ที่บางคนชอบบ่นๆว่า ทำไมมีแต่ละครน้ำเน่า ทำไมไม่ทำแบบชาติอื่นๆบ้าง มีหนังดีๆ หลายรูปแบบมาให้ดู ผุ้กำกับหรือผู้จัดละครหลายๆคนบอกว่า เค้าก็อยากทำแบบนั้นครับ ให้ทำหนังดีๆ มีรูปแบบใหม่ๆ ใครก็อยากทำและสามารถทำได้ แต่มันขึ้นอยู่กับผู้บริโภค ที่ยังติดกับค่านิยมหรือรูปแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้อยู่ ซึ่งผมคิดว่าคงจะดูและพูดในภาพรวมๆ เรื่องเว็บฯก็เหมือนกันครับ ถ้าคนไทยทำผมไม่ไอเดียและความสามารถ ความรู้ เราไม่แพ้ใครๆ แต่ทำไมมันถึงทำมาแล้วไม่มีคนใช้ ไม่มีคนรู้จัก ยกตัวอย่างง่ายๆ เว็บข่าวบันเทิงที่ไม่มีอะไรกับเว็บ web2.0 ด้านสังคม หรือการศึกษา ทำไมคนไทยชอบบริโภคด้านเดียว แล้วใช้แบบไม่รู้หรือครับว่าเป็นคืออะไร ซักกี่คนที่รู้ social network web2.0 และเข้าใจและเห็นคุณค่าของมัน

ผมคิดว่าอาจจะเอาเรื่องที่บ่นนี้ ไปพูดในงานเหมือนกันครับ เพราะเค้าเปิดโอกาสให้รู้เข้าร่วมเสนอและโหวตร่วมที่อยากจะพูดและสนใจจะฟังได้ (ผู้ฟังสามารถเป็นผู้พูด ผู้พูดก็สามารถเป็นผุ้ฟังได้ครับ)

ไว้กลับมาจากงาน ผมจะมาเขียนสรุปอีกครั้ง คราวนี้คงเป็นในแง่ ตัวเยาวชนและบทบาทที่เด็กไทยควรมีต่อการพัฒนาและผลักดันวงการเว็บฯและ IT ของไทยเราครับ